นวัตกรรม
PDCA เป็นการเน้นการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ หรือเรียกอีกอย่างว่า “Deming Cycle” ซึ่ง PDCA ประกอบด้วย Plan (การวางแผน) Do (การปฏิบัติตามแผน) Check (การตรวจสอบ) และAct (การจัดทำมาตรฐานใหม่) ดังนั้น การวางแผนที่ดี และเหมาะสม เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และมักมีโอกาสบรรลุเป้าหมายนำไปสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้ยังทำให้รับรู้ถึงจุดอ่อน จุดแข็งของการดำเนินงานด้วย จึงทำให้ทำงานง่ายและได้ผลลัพธ์ที่ดี อ่านต่อ
การพัฒนาระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรมมีฐานคิดมาจากชุดความรู้ การสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรพึ่งพาตนเอง หลักและวิธีการสหกรณ์ แนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งช่วยจรรโลงสังคมโดยใช้กลไกของสถาบันเกษตรกร ผ่านเสาหลักการเรียนรู้และพัฒนา 3 มิติ ประกอบด้วย เสาหลักการเรียนรู้และพัฒนาในการสร้างผู้นำเชิงคุณค่า ในการยกระดับความเข้มแข็งของสถาบันเกษตรกร และในการเชื่อมโยงเครือข่ายคุณค่า อ่านต่อ

จากกรอบนโยบายและทิศทางการพัฒนาเกษตรกรประเทศไทยที่ยั่งยืน มีการมุ่งเน้นการพัฒนาเกษตรกรให้เกิดความรู้และทักษะความสามารถในการจัดการตนเอง การบริหารการจัดการการผลิตในไร่นาของตน ตลอดห่วงโซ่การผลิต ลดภาระการพึ่งพาจากภาครัฐ การพัฒนาอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยเน้นแนวทางการมีส่วนร่วม การปรับเปลี่ยนแนวคิดมาพัฒนาที่คนมากกว่างาน สร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวม รวมถึงสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปยังผู้อื่นได้ อ่านต่อ

แนวคิดและกระบวนการทำงานในการเชื่อมโยงเครือข่ายคุณค่าของชุดโครงการ และนำมาประยุกต์กับแนวคิดการบริหารจัดการโซ่อุปทานเชิงบูรณาการ 3 ขั้นตอน คือ การวางกรอบทิศทางของเครือข่ายโดยใช้เทคนิคการประชุมระดมความคิด เทคนิคเชิงกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม และการจัดทำแผนที่กลยุทธ์ การขับเคลื่อนแผนงานของภาคีเครือข่าย และคุณค่าที่เกิดจากการผนึกกำลังระหว่างพันธมิตรธุรกิจในการร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ อ่านต่อ

เป็นที่คาดเดาว่าในอนาคตสถานการณ์การขาดแคลนอาหารของโลกจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสของไทยในการก้าวขึ้นเป็นครัวของโลก แต่การจะเป็นผู้นำด้านอาหารของโลกนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ใจในเรื่องของความปลอดภัยของอาหารต่อสุขภาพและอนามัยตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเชื่อมั่นและเชื่อถือ ดังนั้น ความสำคัญเร่งด่วนของการที่จะก้าวเป็นครัวโลก จึงควรให้ความสำคัญของการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสินค้าอย่างมีประสิทธิผล อ่านต่อ
ปัจจุบันเป็นยุคเศรษฐกิจใหม่ มีความซับซ้อน และเชื่อมโยงกันมากขึ้น เนื่องจากนโยบายการค้าเสรี การรวมกลุ่มการค้าในภูมิภาคต่าง ๆ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้การแข่งขันทางการค้าทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น การจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงพันธมิตรทางธุรกิจเข้าสู่รูปแบบของความร่วมมือของธุรกิจต่าง ๆ ภายใต้โซ่อุปทาน มาใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการแข่งขัน และการบรรลุเป้าหมายธุรกิจอย่างยั่งยืน อ่านต่อ
จากแนวคิดบนพื้นฐานทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยประสิทธิภาพการผลิตต่อหน่วยพื้นที่ คือ การทำมากๆ ใช้ที่ดินมากๆ จะได้ผลผลิตมากๆ แต่เบื้องหลังความสำเร็จ คุณภาพชีวิตของเกษตรกรในภาพรวมยังคงเป็นชนชั้นล่างของสังคม ความรู้ของเกษตรกรยังคงเป็นความรู้แบบพึ่งพิงธรรมชาติ ทำให้ก้าวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกเสรี จึงทำให้เกษตรกรยิ่งทำยิ่งจน วิธีแก้ปัญหาก็คือ ต้องสร้างและพัฒนาเกษตรกรให้เป็นเกษตรรุ่นใหม่ โดยมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐ (Smart Officer) เป็นกลไกสำคัญ อ่านต่อ
การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ ได้ถูกนำไปกำหนดเป็นหนึ่งในประเด็นยุทธศาสตร์หลักภายใต้แผนพัฒนาการสหกรณ์ฉบับที่ 2 อันได้แก่ มิติด้านอุดมการณ์/คุณค่า ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกพึ่งพาร่วมมือกัน มิติด้านกระบวนทัศน์ เป็นผู้ที่มีความคิดที่จะริเริ่ม ทำงานเป็นระบบ และมององค์รวม มิติด้านหลักการ เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วมในองค์กร และมิติด้านแนวปฏิบัติที่ดี เป็นผู้ที่ยึดมั่น ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และทำตามระเบียบแบบแผน อ่านต่อ
สหกรณ์ต้องดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เพื่อการนำประโยชน์สู่สมาชิกและชุมชน รวมถึงต้องนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นในการดำเนินธุรกิจและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการดำรงอยู่ได้ของธุรกิจ การจัดการโซ่อุปทานของสหกรณ์ มี 2 โมเดล แบบดั้งเดิม ซึ่งสหกรณ์เป็นตัวกลางในการรวบรวม จำหน่าย ซึ่งไม่ก่อให้เกิดคุณค่ามากนัก และโมเดลธุรกิจแนวใหม่ ซึ่งมีการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อ่านต่อ
ในปัจจุบันประเทศไทยมีแผนการเชื่อมโยงอุปทานการค้าเพื่อรองรับการพัฒนาโลจิสติกส์ในอาเซียน โดยมีการเชื่อมโยงถนนสายต่างๆ ในประเทศเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ซึ่งทุกวันนี้การดำเนินงานในรูปแบบพันธมิตรจะดีกว่าการเข้าไปเดี่ยวๆ เนื่องจากต้นทุนจะถูกลง รวมถึงการรวมกลุ่มประเทศ จะทำให้มีความแข็งแรงและได้เปรียบ ตลอดจนการมีอำนาจในการต่อรองที่มากขึ้น ซึ่งจะทำให้โลจิสติกส์มีความเข้มแข็งที่มากมายทีเดียว อ่านต่อ
หากสมาชิกไม่เข้าใจสถานภาพและบทบาทของ “สหกรณ์” ที่แท้จริงแล้ว ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานของสหกรณ์ได้อย่างเหมาะสม สหกรณ์เป็นนวัตกรรมขององค์การธุรกิจที่มุ่งเน้นการนำคุณค่าผ่านกระบวนการบริหารจัดการ ผ่านกรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมของคน 3 ฝ่าย ได้แก่ สมาชิก คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ ซึ่งต้องมองความเชื่อมโยงกันระหว่างการเงินของสมาชิก สหกรณ์ และประเทศ เพื่อนำประโยชน์สู่สมาชิกและชุมชนบนหลักการพึ่งพาและร่วมมือกัน อ่านต่อ
คนจำนวนไม่น้อยเลยที่เห็นความสำคัญของอาหารที่เป็นอันตรราย ดังนั้น 2 ทศวรรษที่ผ่านมาจึงมี Farmer’s Market หรือ ตลาดเกษตรกรเกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก สิ่งที่ทำให้ตลาดนี้แตกต่างออกไป คือ การที่เกษตรกรและผู้บริโภคมีโอกาสซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยตรง จึงสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภคและเกษตรกร จะเห็นได้ว่าตลาดดังกล่าวสามารถใช้เป็นกลไกในการรณรงค์ให้คนในชุมชนมาจับจ่ายใช้สอยผลิตภัณฑ์ในชุมชน ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน อ่านต่อ


ยุทธศาสตร์
ทิศทางการพัฒนาและประเภทกิจการที่จะส่งเสริมการลงทุนในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมสิทธิชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่นและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อ่านต่อ การเชื่อมโยงคุณค่า เพื่อโอกาสในการเรียนรู้กระบวนการทำงานอย่างมีแบบแผน แต่รัฐยังคงใช้สหกรณ์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพราะยังขาดความเข้าใจในสหกรณ์อย่างแท้จริง ทำให้เกิดผลเสียทั้งเกิดต้นทุนเทียม และการที่สหกรณ์ไม่สามารถแข่งขันกับใครได้ หากคนวงในสหกรณ์เข้าใจความเป็นสหกรณ์ที่แท้จริง จะนำไปสู่ภพภูมิใหม่ที่มีคุณค่าเพื่อนำไปสู่สังคมที่เป็นสุข อ่านต่อ
สหกรณ์มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องโดยก่อกำเนิดเป็นรูปธรรมจากผู้นำรอชเดล แต่ความก้าวหน้าของสหกรณ์นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐและความรู้ความเข้าใจเรื่องสหกรณ์ ปัจจุบันเกิดสหกรณ์สายพันธุ์ใหม่ คือ มีรูปแบบเอกชนที่มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มักไปไม่รอด เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประชาคมโลกหันมาสนใจตัวแบบสหกรณ์ว่าเป็นวิสาหกิจที่สร้างโลกได้ดีกว่า ซึ่งทำให้เกิดความสมดุล มีความสุข และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ... อ่านต่อ ปัญหาการบริหารงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นทำให้กระทรวงการคลังจะเข้ามาดูแลควบคุมแทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจะทำให้รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วรัฐต้องไม่ใช้การบังคับ หากแต่ต้องคุ้มครอง ส่งเสริม และดูแลสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์สามารถช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมได้ตามแนวปรัชญาของระบบสหกรณ์ อ่านต่อ
สหกรณ์คือการรวมตัวเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก ซึ่งเป็นกลจักรสำคัญทางเศรษฐกิจ ช่วยยกระดับชีวิต และช่วยแก้ปัญหาในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม สหกรณ์ถือได้ว่าเป็นธุรกิจของประชาชน และมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับคนระดับพื้นฐานทั่วประเทศทุกอาชีพ ปัจจุบันระบบสหกรณ์มีปัญหาเรื่องโครงสร้างทำให้เกิดการทุจริตขึ้น การบริหารจัดการที่ดีตามหลักการสหกรณ์สากลทั้ง 7 ประการจึงเป็นกลไกที่สำคัญ .. อ่านต่อ กรอบการวิจัยในอนาคตควรเน้นไปที่การนำชุดความรู้ในเรื่องธุรกิจฐานสังคม ไปขยายผลกับหน่วยงานภาคีในการสร้างสรรค์ชุมชนให้เข้มแข็ง สหกรณ์จะประสบความสำเร็จได้ดี ต้องมีผู้นำที่ดี รวมถึงต้องมองแยกขาว-ดำ ให้ชัดเจน มีโครงสร้างที่ถ่ายทอดไปสู่ชุมชนได้ รวมถึงต้องมีนักคิดที่สร้างสรรค์งาน ทำให้สหกรณ์ขับเคลื่อนไปได้ เกิดความเข้มแข็งเป็นกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อความกินดีอยู่ดีของคนในชาติและความสำเร็จของสหกรณ์ในอนาคต ..อ่านต่อ
กลุ่มธุรกิจเชิงคุณค่าสามพราน หรือ “สามพรานโมเดล” เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม และปรับเปลี่ยนทัศนคติในการประกอบอาชีพเกษตรกรจากการทำเกษตรเคมีไปสู่เกษตรอินทรีย์ และกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องของทีมงานจะนำไปสู่สามพรานโมเดลที่จะช่วยยกระดับมูลค่าเพิ่มได้ในอนาคต รวมถึงเป็นศูนย์เรียนรู้มีชีวิต เพื่อเผยแพร่แนวคิด วิธีการ ในการนำคุณค่าสหกรณ์แก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม บนหลักการพึ่งพาและร่วมมือกันอ่านต่อ สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นธุรกิจที่มีบทบาทคู่ คือ เป็นทั้งสถาบันการเงินและสหกรณ์ ทำให้บริบทการดำเนินงานและแนวคิดการจัดการต่างไปจากสถาบันการเงินทั่วไป และเพื่อการบรรลุเป้าหมายการมีคุณค่าอย่างแท้จริง จึงต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งและเป็นธรรม โดยดำเนินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ยึดความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างคุณภาพ สังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทันและเกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม อ่านต่อ
หลายประเทศพยายามหนีคำว่าประเทศด้อยพัฒนา แต่มีคำถามว่าจะใช้อะไรเป็นดัชนีชี้วัดว่าประเทศนั้น ๆ พัฒนาแล้วหรือไม่ ซึ่งหากจะลองมองจริงๆ ต้องดูที่หัวใจของการสหกรณ์ หากประเทศใดเลือกใช้สหกรณ์ที่เข้มแข็ง ประเทศนั้นจะมีการพึ่งพาตนเอง ซึ่งนั่นก็คือ “การพัฒนา” ที่แท้จริง และสหกรณ์จะเข้มแข็งได้นั้นต้องเริ่มจากตัวประชาชนเอง ทุกคนต้องคิดและทำเพื่อส่วนรวม มีความเสมอภาค ไม่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการมีวินัยในตนเอง่ .. อ่านต่อ สหกรณ์เป็นการบริหารงานโดยการรวมกำลัง รวมทุนของสมาชิกเข้าด้วยกัน โดยใช้หลักช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่องการจัดการ ในการขับเคลื่อนประเทศด้วยกลไก “ประชารัฐ” เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยมีสหกรณ์เป็นตัวกลางในการเชื่อมความต้องการ ทำให้ประชาชนช่วยเหลือตนเองได้ ตลอดจนเป็นพลังในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง อ่านต่อ

ภายใต้แนวคิดการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องตั้งแต่เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม และส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การที่สหกรณ์ไทยได้ก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ทำให้สมาชิกสามารถเข้าถึงเรื่องคุณค่า หลักการ และแนวปฏิบัติตนในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่จะสนับสนุนให้สหกรณ์นำคุณค่า 3 เสาหลักไปยกระดับความสามารถสหกรณ์ได้

อ่านต่อ
ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาการสหกรณ์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งเสริมให้ศรัทธา และเชื่อมั่นในคุณค่าสหกรณ์ รวมถึงแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกส่วนคือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสหกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ การพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานของสหกรณ์ การพัฒนาระบบเครือข่ายความร่วมมือเชื่อมร้อยห่วงโซ่อุปทาน และพัฒนาระบบการเงินสหกรณ์ให้พึ่งพาตนเองได้และร่วมมือกันอ่านต่อ