แผนที่กลยุทธ์:
แผนที่กลยุทธ์ของสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์
ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการขับเคลื่อนพันธกิจภายใต้ความร่วมมือ ของพันธมิตรเพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนด สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์จึงนำแผนที่ยุทธศาสตร์มาใช้เพื่อ สื่อให้เห็นความเชื่อมโยง ของขบวนการทำงาน ที่ชี้ให้เห็นมุมมองด้านการเรียนรู้ และพัฒนามุมมองด้านกระบวนการภายใน มุมมองด้านลูกค้า และกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนมุมมองด้านคุณค่า ที่เป็นผลลัพธ์จากการ ดำเนินงานของ สว.สก.
เสาหลักกลยุทธ์ที่ 1: การขับเคลื่อนการวิจัยในทิศทางที่สนับสนุนการยกระดับการพัฒนาไปสู่ระบบคุณค่าและ
การค้าที่เป็นธรรม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อให้มีการวิจัยที่สนับสนุนการยกระดับการพัฒนาสหกรณ์ไปสู่ระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
2. เพื่อเสาะหา สร้างและธำรงรักษา นักวิจัยที่มีคุณภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัย
3. เพื่อให้ได้องค์ความรู้/นวัตกรรมที่นำไปเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนาไปสู่ระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. จำนวนผลงานวิจัย ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้ประกอบการ สหกรณ์ กลุ่ม/องค์กร เครือข่าย ชุมชน ปีละ 2 เรื่อง
2. จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปีละ 1 เรื่อง
3. จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล/จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สร้างรูปแบบการบริหารจัดการใหม่/นวัตกรรม ปีละ 1 เรื่อง
แนวทางดำเนินงาน
1. การขับเคลื่อนการวิจัยภายใต้กรอบคิด การบริหารจัดการโซ่อุปทานอย่างบูรณาการและการเชื่อมโยงเครือข่ายคุณค่า ซึ่งเป็นชุดความรู้หลักของ สว.สก.
2. การวางระบบการวิจัยในเชิงพื้นที่ เชิงประเด็น การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Inventing Research)
3. การขับเคลื่อนการวิจัย PAR ร่วมกับผู้ประกอบการ สหกรณ์ กลุ่ม/องค์กร เครือข่าย ชุมชน และหน่วยงานพันธมิตรภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานเจ้าของทุน และการวิจัยที่ใช้ระบบ Matching Fund ร่วมกับหน่วยงาน/องค์กรพันธมิตร
เสาหลักกลยุทธ์ที่ 2 การสร้างกลไกเรียนรู้และคลังความรู้เพื่อสนับสนุนการสร้างผู้นำ
การเปลี่ยนแปลง ที่มีจิตสำนึกสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อให้มีการสะสมความรู้ และการสร้างคลังความรู้ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีจิตสำนึกสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม
2. เพื่อให้มีกลไกการเรียนรู้ สนับสนุนการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีจิตสำนึกสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. จำนวนเวทีเรียนรู้ สนับสนุนการเรียนรู้ และการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปีละ 10 เวที
2. จำนวนผู้สนใจเข้าร่วมในเวทีเรียนรู้ อย่างน้อย ปีละ 300 คน
3. เครือข่ายทรัพยากรมนุษย์ ที่เข้าร่วมเวทีเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นปีละ 30 คน และพัฒนาไปเป็นเครือข่ายฯ ของสถาบันและสังคมฐานความรู้ที่เห็นความสำคัญในประเด็นระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
4. มีคลังข้อมูลที่สะสมองค์ความรู้ในประเด็นระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม เพื่อการเผยแพร่เพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 10 รายการ
5. มีผู้สนใจเข้าสืบค้นข้อมูลไม่ต่ำกว่าเดือนละ 300 ราย
6. มีสื่อ-สิ่งพิมพ์เกี่ยวกับระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรมเผยแพร่ในนาม สว.สก. อย่างน้อยปีละ 3 เรื่อง
แนวทางการดำเนินงาน
1. การขับเคลื่อนเวทีเรียนรู้ภายใต้เสาหลักการเรียนรู้ระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม: VN&F Platform ร่วมกับองค์กรพันธมิตรที่ศรัทธาและเชื่อมั่น เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาไปสู่สังคมฐานความรู้ ในทิศทางการพัฒนาระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
2. ใช้กลไกของศูนย์สารสนเทศฯ วารสารฅนสหกรณ์ เว็บไซต์ www.ku.ac.th ในการสะสมความรู้และการเผยแพร่ความรู้
3. ใช้ฐานความรู้จากงานวิจัยและเครือข่ายทรัพยากรมนุษย์ของ สว.สก. เป็นแหล่งความรู้
4. การสนับสนุนทุนในการเขียนตำรา/เอกสารเผยแพร่ความรู้
5. การแสวงหาทุนจากแหล่งสนับสนุนเพื่อพัฒนา คลังข้อมูล และสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อการเผยแพร่อย่างสม่ำเสมอ
เสาหลักกลยุทธ์ที่ 3 การยกระดับการนำคุณค่าในการพัฒนาผู้ประกอบการ สหกรณ์ กลุ่ม/องค์กร เครือข่าย และชุมชนในทิศทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อยกระดับการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ สหกรณ์ กลุ่ม/องค์กร เครือข่าย และชุมชน ไปในทิศทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบธุรกิจทางเลือกแก่ประชาคม และชุมชน ในการดำรงชีวิตที่ดี และได้รับความเป็นธรรม
3. เพื่อรณรงค์ให้คนในสังคมหันมาใส่ใจในการอยู่ร่วมกันในสังคม บนหลักการพึ่งพาและร่วมมือกัน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. จำนวนผู้ประกอบการสหกรณ์ กลุ่ม/องค์กร ชุมชน ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม ปีละ 300 คน
2. มีตัวแบบของธุรกิจเชิงคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรมเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของประชาคม ที่เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม
3. มีสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับตัวแบบ แนวทางปฏิบัติที่ดีของระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรมอย่างน้อยปีละ 2 เรื่อง
4. มีรายงานการประเมินผลกระทบจากตัวแบบของระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม อย่างน้อย 1 ฉบับ
แนวทางการดำเนินงาน
1. การขับเคลื่อนกระบวนงาน Farmer Shop, Farmer Market และ การสร้างแบรนด์เชิงคุณค่า (Valued Brand Building) ร่วมกับองค์กรพันธมิตรที่ศรัทธาและเห็นความสำคัญ
2. การขับเคลื่อน การสร้างตัวแบบ สหกรณ์/เครือข่าย/ระบบสหกรณ์เชิงคุณค่าร่วมกับองค์กรที่ศรัทธาและเห็นความสำคัญ ในระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
เสาหลักกลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีทีมงานที่มีความสามารถในการเป็นแกนนำการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อให้ สว.สก. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีกลไกการจัดการความรู้ จากบทเรียนที่สำเร็จและไม่สำเร็จมาพัฒนาเป็นชุดความรู้ในการขับเคลื่อนองค์กรในฐานะแกนนำการพัฒนา สู่ระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
2. เพื่อสร้างทีมงานที่มีความสามารถในฐานะแกนนำในการขับเคลื่อนระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. สว.สก. ได้รับการยอมรับในการเป็นแกนนำการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม ร่วมกับองค์กรพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 2 องค์กร
2. มีทีมงานวิจัยที่มีผลงานวิจัยออกสู่สังคม อย่างน้อยปีละ 2 เรื่อง
3. บุคลากรของ สว.สก. ที่มีภารกิจเป็นพี่เลี้ยง Coaching แก่หน่วยงานพันธมิตร อย่างน้อย 2 องค์กร
4. บุคลากร สว.สก.ที่มีภารกิจเป็นที่ปรึกษาแก่องค์กรพันธมิตรอย่างน้อย 2 องค์กร
แนวทางการดำเนินงาน
1. ใช้กระบวนการจัดการความรู้ และเวทีถอดบทเรียน ทั้งจากประสบการณ์ที่สำเร็จและไม่สำเร็จ เพื่อตกผลึกความคิดในการพัฒนาเป็นชุดความรู้ใหม่
2. การสนับสนุนทุนศึกษาอบรม และการสร้างประสบการณ์แก่บุคลากรอย่างสม่ำเสมอ
3. การมอบหมายภารกิจตามความสนใจและความถนัดแก่บุคลากร