ยุทธศาสตร์
ทิศทางการพัฒนาและประเภทกิจการที่จะส่งเสริมการลงทุนในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมสิทธิชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่นและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อ่านต่อ การเชื่อมโยงคุณค่า เพื่อโอกาสในการเรียนรู้กระบวนการทำงานอย่างมีแบบแผน แต่รัฐยังคงใช้สหกรณ์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพราะยังขาดความเข้าใจในสหกรณ์อย่างแท้จริง ทำให้เกิดผลเสียทั้งเกิดต้นทุนเทียม และการที่สหกรณ์ไม่สามารถแข่งขันกับใครได้ หากคนวงในสหกรณ์เข้าใจความเป็นสหกรณ์ที่แท้จริง จะนำไปสู่ภพภูมิใหม่ที่มีคุณค่าเพื่อนำไปสู่สังคมที่เป็นสุข อ่านต่อ
สหกรณ์มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องโดยก่อกำเนิดเป็นรูปธรรมจากผู้นำรอชเดล แต่ความก้าวหน้าของสหกรณ์นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐและความรู้ความเข้าใจเรื่องสหกรณ์ ปัจจุบันเกิดสหกรณ์สายพันธุ์ใหม่ คือ มีรูปแบบเอกชนที่มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มักไปไม่รอด เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประชาคมโลกหันมาสนใจตัวแบบสหกรณ์ว่าเป็นวิสาหกิจที่สร้างโลกได้ดีกว่า ซึ่งทำให้เกิดความสมดุล มีความสุข และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ... อ่านต่อ ปัญหาการบริหารงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นทำให้กระทรวงการคลังจะเข้ามาดูแลควบคุมแทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจะทำให้รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วรัฐต้องไม่ใช้การบังคับ หากแต่ต้องคุ้มครอง ส่งเสริม และดูแลสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์สามารถช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมได้ตามแนวปรัชญาของระบบสหกรณ์ อ่านต่อ
สหกรณ์คือการรวมตัวเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก ซึ่งเป็นกลจักรสำคัญทางเศรษฐกิจ ช่วยยกระดับชีวิต และช่วยแก้ปัญหาในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม สหกรณ์ถือได้ว่าเป็นธุรกิจของประชาชน และมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับคนระดับพื้นฐานทั่วประเทศทุกอาชีพ ปัจจุบันระบบสหกรณ์มีปัญหาเรื่องโครงสร้างทำให้เกิดการทุจริตขึ้น การบริหารจัดการที่ดีตามหลักการสหกรณ์สากลทั้ง 7 ประการจึงเป็นกลไกที่สำคัญ .. อ่านต่อ กรอบการวิจัยในอนาคตควรเน้นไปที่การนำชุดความรู้ในเรื่องธุรกิจฐานสังคม ไปขยายผลกับหน่วยงานภาคีในการสร้างสรรค์ชุมชนให้เข้มแข็ง สหกรณ์จะประสบความสำเร็จได้ดี ต้องมีผู้นำที่ดี รวมถึงต้องมองแยกขาว-ดำ ให้ชัดเจน มีโครงสร้างที่ถ่ายทอดไปสู่ชุมชนได้ รวมถึงต้องมีนักคิดที่สร้างสรรค์งาน ทำให้สหกรณ์ขับเคลื่อนไปได้ เกิดความเข้มแข็งเป็นกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อความกินดีอยู่ดีของคนในชาติและความสำเร็จของสหกรณ์ในอนาคต ..อ่านต่อ
กลุ่มธุรกิจเชิงคุณค่าสามพราน หรือ “สามพรานโมเดล” เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม และปรับเปลี่ยนทัศนคติในการประกอบอาชีพเกษตรกรจากการทำเกษตรเคมีไปสู่เกษตรอินทรีย์ และกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องของทีมงานจะนำไปสู่สามพรานโมเดลที่จะช่วยยกระดับมูลค่าเพิ่มได้ในอนาคต รวมถึงเป็นศูนย์เรียนรู้มีชีวิต เพื่อเผยแพร่แนวคิด วิธีการ ในการนำคุณค่าสหกรณ์แก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม บนหลักการพึ่งพาและร่วมมือกันอ่านต่อ สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นธุรกิจที่มีบทบาทคู่ คือ เป็นทั้งสถาบันการเงินและสหกรณ์ ทำให้บริบทการดำเนินงานและแนวคิดการจัดการต่างไปจากสถาบันการเงินทั่วไป และเพื่อการบรรลุเป้าหมายการมีคุณค่าอย่างแท้จริง จึงต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งและเป็นธรรม โดยดำเนินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ยึดความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างคุณภาพ สังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทันและเกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม อ่านต่อ
หลายประเทศพยายามหนีคำว่าประเทศด้อยพัฒนา แต่มีคำถามว่าจะใช้อะไรเป็นดัชนีชี้วัดว่าประเทศนั้น ๆ พัฒนาแล้วหรือไม่ ซึ่งหากจะลองมองจริงๆ ต้องดูที่หัวใจของการสหกรณ์ หากประเทศใดเลือกใช้สหกรณ์ที่เข้มแข็ง ประเทศนั้นจะมีการพึ่งพาตนเอง ซึ่งนั่นก็คือ “การพัฒนา” ที่แท้จริง และสหกรณ์จะเข้มแข็งได้นั้นต้องเริ่มจากตัวประชาชนเอง ทุกคนต้องคิดและทำเพื่อส่วนรวม มีความเสมอภาค ไม่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการมีวินัยในตนเอง่ .. อ่านต่อ สหกรณ์เป็นการบริหารงานโดยการรวมกำลัง รวมทุนของสมาชิกเข้าด้วยกัน โดยใช้หลักช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่องการจัดการ ในการขับเคลื่อนประเทศด้วยกลไก “ประชารัฐ” เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยมีสหกรณ์เป็นตัวกลางในการเชื่อมความต้องการ ทำให้ประชาชนช่วยเหลือตนเองได้ ตลอดจนเป็นพลังในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง อ่านต่อ

ภายใต้แนวคิดการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องตั้งแต่เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม และส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การที่สหกรณ์ไทยได้ก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ทำให้สมาชิกสามารถเข้าถึงเรื่องคุณค่า หลักการ และแนวปฏิบัติตนในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่จะสนับสนุนให้สหกรณ์นำคุณค่า 3 เสาหลักไปยกระดับความสามารถสหกรณ์ได้

อ่านต่อ
ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาการสหกรณ์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งเสริมให้ศรัทธา และเชื่อมั่นในคุณค่าสหกรณ์ รวมถึงแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกส่วนคือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสหกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ การพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานของสหกรณ์ การพัฒนาระบบเครือข่ายความร่วมมือเชื่อมร้อยห่วงโซ่อุปทาน และพัฒนาระบบการเงินสหกรณ์ให้พึ่งพาตนเองได้และร่วมมือกันอ่านต่อ