การดำเนินการวิจัยของสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ อย่างต่อเนื่องในรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้ผลผลิตการวิจัยเป็นชุดความรู้และนวัตกรรม ก่อให้เกิดทางเลือกใหม่ในการประกอบอาชีพ
เพื่อให้ผลงานวิจัยที่ได้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์จึงถือว่า การนำผลการวิจัยจากโครงการต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์เป็นอีกภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการ สามารถจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
ตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย |
||
แผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 1 |
วิสัยทัศน์ การพัฒนาคนที่เกี่ยวข้องกับขบวนการสหกรณ์ การพัฒนาคุณภาพของสหกรณ์ (องค์กร) การพัฒนาโครงสร้างขบวนการสหกรณ์และเครือข่ายความร่วมมือ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย การพัฒนาระบบสนับสนุนขบวนการสหกรณ์ และการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องสหกรณ์ ดาวน์โหลดแพนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 1 |
|
แผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 2 |
วิสัยทัศน์
ดาวน์โหลดแผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 2 |
|
ตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ |
||
รายวิชา“การจัดการโซ่อุปทานในธุรกิจสหกรณ์” |
เป็นรายวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาโซ่อุปทาน กลยุทธ์ ความร่วมมือ และพันธมิตรในโซ่อุปทาน ยังมีกรณีศึกษาโดยอาศัยข้อมูลจากรายงานวิจัย เช่น เครือข่ายคุณค่าข้าวคุณธรรม ตัวแบบธุรกิจโครงการ Farmer Shop |
|
หนังสือ-คู่มือ |
หนังสือและคู่มือต่าง ๆ เป็นการถอดบทเรียนที่ได้รับจากการทำงานวิจัยของสถาบันฯ และประมวลความรู้ เพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การเผยแพร่ การฝึกอบรม |
|
เผยแพร่บทความในวารสารฅนสหกรณ์ |
วารสารฅนสหกรณ์เป็นเอกสารสำคัญในเข้าถึงภาคีที่หลากหลายของสถาบันฯ โดยทีมงานวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิได้เติมความรู้ต่าง ๆ ในงานวิจัยมาเล่าผ่านภาษาที่เข้าถึงได้ง่าย และติดความเคลื่อนไหวในการพัฒนาการสหกรณ์ของไทย |
|
บทความวิชาการในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ |
สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์โอกาสได้เผยแพร่งานวิจัยในรูปของการนำเสนอบทความในเวทีระดับนานาชาติหลายครั้ง เช่น
|
|
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในขบวนการสหกรณ์ |
||
หลักสูตรผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ |
หลักสูตรผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างผู้ชำนาญการจัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มพูนวิสัยทัศน์ ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ให้แก่ผู้เข้าอบรม เพื่อให้สามารถไปปฏิบัติภารกิจ ตรวจสอบกิจการได้อย่างเหมาะสม โดยได้รับความร่วมมือจากชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด |
|
กลุ่มธุรกิจเชิงคุณค่าสามพราน |
เครือข่ายคุณค่าที่ยึดมั่นคุณค่าสหกรณ์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ชุดโครงการวิจัย “การขับเคลื่อนการพัฒนาการสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม” มีวัตถุประสงค์ในการสร้างธุรกิจแนวใหม่ที่เอื้อประโยชน์แก่สหกรณ์ ผู้ประกอบการ และชุมชน ตามแนวทางการบริหารจัดการโซ่อุปทานอย่างบูรณาการโดยมีสามพรานริเวอร์ไซด์เป็นแกนนำ ร่วมด้วยกลุ่มเกษตร หน่วยงานรัฐ เอกชน ในพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และพื้นที่ข้างเคียง |
|
Farmer Shop |
Farmer Shop นับเป็นนวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการและชุมชนที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งกับการค้าทีเป็นธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ตัวแบบธุรกิจนี้จะเชื่อมโยงผู้ประกอบการและผู้ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปเป็นเครือข่ายอุปทาน และเชื่อมโยงผู้บริโภคเข้าเป็นเครือข่ายอุปสงค์ แล้วเชื่อมทั้งสองเครือข่ายเข้าสมาชิกของ Farmer Shop |
|
ธุรกิจฐานสังคม |
ตัวระบบธุรกิจฐานสังคมเป็นผลผลิตจากชุดโครงการวิจัยการขับเคลื่อนการพัฒนาการสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม ระยะที่ 5 โดยมีนิยามว่า “องค์การธุรกิจที่เกิดจากความร่วมมือของภาคีที่เป็นเจ้าของร่วมกัน ดำเนินธุรกิจโดยใช้กลไกตลาดและบริหารจัดการโซ่อุปทานในธุรกิจ เพื่อการบรรลุเป้าหมายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมกัน และที่สำคัญต้องไม่เป็นองค์การที่รับเงินทุนเพื่อการแทรกแซงกลไกตลาดในระบบแข่งขัน” อ่านเพิ่มเติม |
|
การสร้างทุนทางสังคม (Social Asset) |
งานวิจัยของสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์เป็นงานวิจัยที่ดำเนินการโดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดังนั้น กิจกรรมต่าง ๆ ตลอดการวิจัยจึงเน้นความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการวิจัย ทั้งตัวนักวิจัยเอง และกลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ผลคือ การทำงานวิจัยของสถาบันฯ จึงไม่ได้แต่ผลลัพธ์เท่านั้น หากแต่ได้ยกระดับผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมสร้างเครือข่ายต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาด้วย |
|