ความเป็นมาตัวแบบธุรกิจร้าน Farmer Shop
ร้าน Farmer Shop เป็นนวัตกรรมตัวแบบธุรกิจจากโครงการวิจัย "การพัฒนาและดำเนินการกับตัวแบบ Farmer Shop"[1] ที่มุ่งหวังสร้างธุรกิจสร้างธุรกิจทางเลือกเกี่ยวกับการค้าปลีกสินค้าการเกษตรแปรรูปให้แก่ชุมชน โดยการช่วยเหลือให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้บริโภคให้ร่วมกันเข้ามาสู่ตลาดการค้าที่เป็นธรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แบ่งการวิจัยตัวแบบธุรกิจร้าน Farmer Shop แบ่งเป็น 3 ระยะ ในช่วงเวลา 5 ปี คือ ระยะที่ 1 การเตรียมการซึ่งใช้เวลา 1 ปี (พ.ศ. 2553 - 2554) ระยะที่ 2 การดำเนินการจัดตั้งและดำเนินการโครงการทดลองตัวแบบ Farmer Shop ใช้เวลา 2 ปี (พ.ศ. 2554 – 2556) และระยะที่ 3 การขยายผลไปสู่การใช้ประโยชน์ในชุมชน สหกรณ์ สถาบันการเกษตร และผู้ประกอบการรายย่อย ที่เริ่มต้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2557 จนถึง พ.ศ. 2559
กล่าวได้ว่าขณะนี้ร้าน Farmer Shop ได้ก้าวเข้าสู่ระยะที่ 3 เป็นระยะของการนำผลการวิจัยไปใช้ในชุมชนอย่างแท้จริง ดังนั้น ในเรื่องจะได้ถึงตัวแบบธุรกิจร้าน Farmer Shop ตลอด2 ระยะ หรือ 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2556 โดยได้สรุปถึงเป้าหมาย กิจกรรม และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1 การดำเนินโครงการวิจัยระยะแรก : ระยะเตรียมการ
การวิจัยในระยะแรกเกิดขึ้นช่วงระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ถึง 14 สิงหาคม
พ.ศ. 2554 คาดหวังว่าโครงการนี้จะมีประโยชน์ 3 ประการ คือ
1) เป็นตัวแบบธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ในทิศทางของการบูรณาการโซ่อุปทาน เพื่อนําสินค้าเกษตรแปรรูปของสถาบันเกษตรกร/สหกรณ์ ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขและสนใจเข้าร่วมโครงการ
2) ต่อยอดการนําทุนความรู้ ทุนสังคม และทุนทรัพยากรภายใต้ชุดโครงการวิจัยและขยายผลไปในทิศทางของการพัฒนาระบบธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ตาม
กรอบทิศทางเชิงนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของประเทศ
3) ได้ช่องทางการตลาดใหม่สําหรับสินค้าเกษตรซึ่งจะช่วยลดปัญหา/ข้อจํากัดในการเข้าถึงตลาด
กิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงปีแรกเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตและผู้ประกอบการ การคัดเลือกสินค้าเพื่อการพัฒนาต่อยอดให้ได้มาตรฐาน และการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมโครงการร้าน
Farmer Shop
1. ได้คัดสรรผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการในฐานะสมาชิก โดยเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายด้านอุปทานจำนวน 127 ราย
2. ได้คัดสรรสินค้าตามมาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และ มาตรฐาน อ.ย. จนได้สินค้ามา 215 รายการ
3. ได้พัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ โดยเลือกส้มแขกของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร จ.ยะลาเป็นสินค้านำร่อง
4. ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการโซ่อุปทานระดับต้นน้ำ โดยเลือกกล้วยเล็บมือนาง และน้ำพริกแม่เกตุ
มาพัฒนาระบบจัดซื้อ หาวัตถุดิบ
5. มีการจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ Farmer Shop 2 แห่ง คือ ร้านสหกรณ์พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด และร้านจำหน่ายสินค้าไร้สุวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6. ได้พัฒนาระบบค้าปลีก โดยส่งเสริมให้สมาชิกร่วมมือและพึ่งพากันในการดำเนินธุรกิจสินค้าและเกษตรแปรรูป ผ่านกระบวนการบริหารจัดการโซ่อุปทาน การหาปัจจัยการผลิต การตลาด และการกระจายสินค้าในแนวทางของระบบธุรกิจที่เป็นธรรม
การดำเนินงานก่อให้เกิดข้อเสนอในการดำเนินโครงการฯ ในระยะที่ 2 โดยเน้นการบ่มเพาะธุรกิจเพื่อให้ได้ชุดความรู้ที่จะนำไปใช้ในการขยายผลสู่ชุมชนต่อไป
2 การดำเนินโครงการวิจัยระยะที่ 2 : การบ่มเพาะธุรกิจ
ภายใต้วัตถุประสงค์ในเรื่องการสร้างตัวแบบร้านค้าปลีกจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูป การสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่เชื่อมโยงโซ่อุปทานในการพัฒนาและกระจายสินค้าเกษตรแปรรูป และความมุ่งหวังให้คนไทยหันมาอุดหนุนสินค้าภายในประเทศแทนการนำเข้า ทำให้การดำเนินโครงการในระยะที่ 2 นี้ ใช้เวลาวิจัยยาวนาน 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2554 จนถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2556 โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวแบบร้าน Farmer Shop ณ อาคารปฏิบัติการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบระบบและพัฒนาไปสู่การนำชุดความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในฐานะการเป็นธุรกิจทางเลือกแก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคในการเข้าถึงตลาดที่มีแนวทางการค้าที่เป็นธรรม[2] โดยการวิจัยในระยะนี้อยู่ภายใต้กระบวนการดังภาพ
เพื่อให้การดำเนินการในระยะที่ 2 ประสบผลสำเร็จ จึงมีการจัดกิจกรรมต่างและได้ผล ดังนี้
1. ได้ตัวแบบธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคเข้ามาสู่วิถีของระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม ทำให้โซ่อุปทานการค้าสินค้าเกษตรแปรรูปสั้นลง ดังภาพ
2. การเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ
2.1. ผ่านการจัดเวทีเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของพวกเขา โดยได้จัดทั้งสิ้น 3 เวที ได้แก่ "ข้อควรปฏิบัติตามแนวทางอาหารปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการ" "แนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจ Farmer Shop" และ "การเตรียมตัวต้อนรับของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"
2.2. มีการประเมินสมรรถนะเครือข่ายผู้ประกอบการ 5 ประการ ได้แก่ เจตคติและทักษะการเป็นผู้ประกอบการอิสระ การจัดสรรทรัพยากร การผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ความชัดเจนในตลาดเป้าหมาย การสร้างแบรนด์สินค้าที่มีเอกลักษณ์ และยังมีข้อเสนอในการจัดตั้งชมรมของผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อยกระดับสมรรถนะเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
3. การคัดสรรและพัฒนาสินค้าจนได้สินค้าที่ผ่านการคัดสรร 647 รายการ และยังมีสุ่มตรวจประเมินสินค้า เพื่อนำมาพัฒนาเป็นคู่การประเมินคุณภาพสินค้า Farmer Shop
เชื่อมโยงเครือข่ายผู้บริโภคจนได้สมาชิก 1,453 ราย
5. การดำเนินงานร้านต้นแบบจนมียอดขายรวม 2,245,316.50 บาท ต้นทุนสินค้าขาย 1,788,657.16 บาท กำไรขั้นต้น 581,902.65 บาท
3. การดำเนินงานโครงการ farmer Shopในระยะที่3 (2558-2559) : ระยะขยายผล
เป็นช่วงเวลา การขยายผลสู่ชุมชน ประเทศเพื่อนบ้าน ตามกรอบการวิจัยของโครงการ farmer Shop ในระยะที่ 3 มุ่งเน้นไปที่ การรณรงค์ให้ภาคีนำ เอาตัวแบบธุรกิจไปใช้ในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจชุมชน โดยบทบาทของทีมวิจัย จะทำหน้าที่ในการถ่ายโอนความรู้จากการวิจัยในรูปแบบของการเป็นโค้ช โดยคาดหวังว่า ระบบธุรกิจFarmer Shop จะเป็นทางเลือกของคนในสังคมที่ตระหนักเห็นความสำคัญของแนวทางการค้าที่เป็นธรรม และการอุดหนุนสินค้าที่ผลิตโดยเกษตรกร และผู้ประกอบการรายย่อย
ในระยะที่ 3 ของการดำเนินการที่มีเข็มมุ่งไปที่ การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์นั้น ได้วางกรอบแนวทางไว้ดังนี้
แนวทางที่ 1 การสนับสนุนภาคี ให้จัดตั้งร้านFarmer Shop ในสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย
- คอนเนอร์ farmer Shop ในร้าน KU FOOD มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ร้าน Farmer Shop ณ มทร.ราชมงคล ธัญบุรี
- ร้าน Farmer Shop ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีลาดกระบังชุมพร
แนวทางที่ 2 การสนับสนุนภาคีในการจัดตั้ง ร้าน Farmer Shop ในสหกรณ์ ประกอบด้วย
-ร้าน Farmer Shop ใน สหกรณ์การเกษตรปราสาท จำกัด จังหวัด สุรินทร์
-ร้าน Farmer Shop ในสหกรณ์โคนมนครปฐม จำกัด จังหวัด นครปฐม
แนวทางที่ 3 การสนับสนุน ภาคีปัจเจกบุคคล เอกชน จัดตั้งและดำเนินงานร้าน Farmer Shop ในชุมชน
-ร้าน Farmer Shop ของ The 8 Fair Traders ณ. โรงพยาบาลทหารเรือ
-ร้าน Farmer Shop จังหวัด อุบลราชธานี
แนวทางมี่ 4 การสนับสนุน ภาคี กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ ประเทศลาวจัดตั้งและดำเนินการ Farmer Market และพัฒนาสู่ ร้าน Farmer Shop
รายการอ้างอิง
1. จุฑาทิพย์ ภัทราวาท, อภิรดี อุทัยรัตนกิจ, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย "การพัฒนาและดำเนินการตัวแบบ Farmer Shop". 2554, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย: กรุงเทพมหานคร.
2. จุฑาทิพย์ ภัทราวาท และคณะ, รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย "การพัฒนาและดำเนินการตัวแบบ Farmer Shop" ระยะที่ 2. 2556, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย: กรุงเทพมหานคร.